วิธีแปลงศักราช (สำหรับตอนนี้) ของ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:โครงการวันเดือนปี

จากหนังสือเรื่อง วันวาร กาลเวลา แลนานาศักราช ของกรมวิชาการ กศธ. (พ.ศ. 2546) สรุปความเกี่ยวกับการขึ้นปีใหม่ได้ดังนี้ครับ
  • ก่อนปี พ.ศ. 2112 เราใช้มหาศักราชเป็นหลัก ปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย (ถ้าเทียบกับสุริยคติ มักตกในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม)
เมื่อมีการใช้ทั้งจุลศักราชและพุทธศักราช
  • พุทธศักราช - ถูกใช้เฉพาะในเรื่องศาสนาและกฎหมาย เริ่มปีใหม่ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 (ซึ่งมักตกอยู่ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม)
  • จุลศักราช - คนทั่วไปไม่มีความรู้เรื่องการคำนวณปฏิทิน จึงคิดง่าย ๆ ว่าวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 (ซึ่งมักจะตกอยู่ในเดือนเมษายน หรือก่อนหน้านั้นเล็กน้อย) เป็นวันขึ้นปีใหม่ พร้อมกับเปลี่ยนปีนักษัตร แต่ทางราชการจะคำนวณหาวันเถลิงศกเป็นวันขึ้นปีใหม่แบบทางการ ซึ่งจะเกิดหลังจากนั้นเสมอ
วิธีคิดสำหรับตอนนี้ที่ผมคิดว่าน่าจะใกล้เคียงความเป็นจริง คือ สำหรับเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดในเดือนมกราคม-มีนาคม
  • การแปลง พ.ศ. เป็น ค.ศ. : ก่อน พ.ศ. 2484 ให้ลบด้วย 542
  • การแปลง ค.ศ. เป็น พ.ศ. : ก่อน ค.ศ. 1941 ให้บวกด้วย 542
นอกนั้นใช้ +/- 543 ตามปกติข้อสังเกต คือ มกราคม-มีนาคม พ.ศ. 2483 ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทยข้างบนนี้เป็นวิธีคิดแบบง่าย ๆ (ถือว่าเปลี่ยน พ.ศ. ในวันที่ 1 เมษายน) แต่ถ้าจะคิดตามหลักวิชาจริง ๆ จะต้องคิดว่าวันปีใหม่ของแต่ละปีตรงกับวันใด ผมเองก็ยังงงอยู่ว่าจะถือเอาวันใดเป็นวันเปลี่ยนพุทธศักราช - แรม 1 ค่ำ เดือน 6 , ขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 หรือวันเถลิงศก ฝากเพื่อน ๆ พี่ ๆ และน้อง ๆ ช่วยหาข้อมูลหน่อยครับ โดยเฉพาะใครที่เรียนมาทางประวัติศาสตร์หรือโบราณคดีนะครับ (หรือมีคนรู้จักเรียมาทางนี้) --Pi@k 04:23, 3 มกราคม 2006 (UTC)จากกรณี พูดคุย:ราชกิจจานุเบกษา ผมได้ข้อสรุปแล้วครับว่าพุทธศักราชในยุคก่อน (อย่างน้อยในช่วงต้นรัตนโกสินทร์) วันปีใหม่น่าจะตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 (ไม่ใช่สงกรานต์หรือวันเถลิงศกทางจุลศักราช) ดังนั้นการแปลง พ.ศ. กับ ค.ศ. ในช่วงนั้นจะค่อนข้างยุ่งยากมาก เพราะต้องไปดูว่าวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของแต่ละปีตรงกับวันอะไรในปฏิทินสุริยคติ --Pi@k 16:32, 21 เมษายน 2007 (UTC)